การเกิดไฟฟ้าสถิตย์
ไฟฟ้าสถิตย์ เกิดจากการที่ปริมาณประจุไฟฟ้าขั้วบวกและขั้วลบบนผิววัสดุมีไม่เท่ากันทำให้เกิดแรงดึงดูดเมื่อวัตถุทั้ง 2 ชิ้นมีประจุต่างชนิดกันหรือเกิดแรงผลักกัน เมื่อวัสดุทั้ง 2 ชิ้นมีประจุชนิดเดียวกันเราสามารถสร้างไฟฟ้าสถิตโดยการนำผิวสัมผัสของวัสดุ 2 ชิ้นมาขัดสีกัน พลังงานที่เกิดจากการขัดสีกันทำให้ประจุไฟฟ้าบนผิววัสดุจะเกิดการแลกเปลี่ยนกัน โดยจะเกิดกับวัสดุประเภทที่ไม่นำไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า ฉนวน ตัวอย่างเช่น ยาง,พลาสติก และแก้ว สำหรับวัสดุประเภทที่นำไฟฟ้านั้น โอกาสเกิดปรากฏการณ์ประจุไฟฟ้าบนผิววัสดุไม่เท่ากันนั้นยาก แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้
โดยทั่วไปผิวของถุงพลาสติกทั่วไปจะมีความต้านทานผิว (Surface Resitivity) อยู่ที่ประมาณ 10^15-10^16 ohms.sq ซึ่งเป็นค่าความต้านทานที่เหมาะสำหรับใช้เป็นฉนวนไฟฟ้าแต่ก็เป็นตัวเก็บสะสมไฟฟ้าสถิตย์ทีดีมากเช่นกัน
ดังนั้นวิธีการแก้ปัญหาคือ ทำให้ความต้านผิวของถตัวถุงพลาสติกมีค่าลดต่ำลงเป็นไม่ให้เป็นกักเก็บหรือแหล่งเกิดไฟฟ้าสถิตย์
Anti-ESD for electronic devices
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่นแผงวงจรรวม(ICs)มักจะมีความไวต่อการเกิดประจุไฟฟ้า ถุงพลาสติกป้องกันสนิมและป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ มักใช้ห่ออุปกรณ์เพื่อปกป้องอุปกรณ์ดังกล่าวในขบวนการผลิต จัดเก็บและขนส่ง
ผลิตถุงพลาสติกป้องกันสนิมและป้องกันไฟฟ้สสถิตย์ของเอ็นดูแพ้คได้รับการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนสามารถทำให้ค่าความต้านทานผิวของพลาสติกป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ลดลงมาที่ 10^16 ohms.sq
ซึ่งเหมาะสมและปลอดภัยในการใช้งานกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ